26 2VCV+P9G ตำบล นางแล อำเภอเมืองเชียงราย เชียงราย 57100
4 Hours
Haft Day
4 persons
Chiang Rai
Deedeebooking ขอเสนอโปรแกรมท่องเที่ยวใหม่ รูปแบบใหม่ เป็นโปรแกรมทัวร์ท่องเที่ยวครึ่งวัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม ฮอตฮิตมากๆ ของชาวยุโรปและชาวเอเชีย เช่นนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี ญี่ปุ่น จีน ในปัจจุบันนี้ โปรแกรมทัวร์นี้ท่องเที่ยวได้ทุกวัย ครบรสทุกการท่องเที่ยว ได้เดินเที่ยวชม นั่งเรือ ถ่ายภาพ ทำคอนเทนใหม่ๆ ที่อิงประวัติศาสตร์ มีประกันการท่องเที่ยวคุ้มครองตลอดโปรแกรมทัวร์ ทำให้ท่านท่องเที่ยวด้วยความอุ่นใจ
พนักงานคนขับรถจะเจอกับคุณลูกค้าในที่นัดหมายตามที่ท่านได้แจ้งกับ deedeeBOOKING อาจจะเป็นโรงแรมหรือที่พักของท่านซึ่งอยู่ในเขตตัวเมืองเชียงราย
หลังจากนั้นเริ่มท่องเที่ยวตามโปรแกรมท่องเที่ยว โดยจะออกเดินทางไปยังไมู่บ้านกระเหรี่ยง 5 ชนเผ่า
ท่านจะได้เห็นการดำเนินชีวิตของชาวกระเหรี่ยงโดยเฉพาะ กระเหรี่ยงคอยาวที่โด่งดังไปทั่วโลก เห็นการดำเนินชีวิตไปกับธรรมชาติ เรียบง่าย
จากนั้น จะพาท่านไปจิบกาแฟที่ลลิตาคาเฟ่
เป็นคาเฟ่ที่แวดล้อมด้วยพันธุ์ดอกไม้ นานาชนิด ร่มรื่นเย็นสบาย ตกแต่งสไตล์ป่าหิมพานต์ในจินตนาการ
หลังท่านสดชื่นจากการดื่มกาแฟรสเลิศ อิ่มท้องกับอาหารแสนอร่อย
สถานที่ท่องเที่ยวต่อไปในโปรแกรมคือ วัดพระสิงห์
วัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ถนนท่าหลวง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา ทิศเหนือติดถนนสิงหไคล ทิศใต้ติดถนนพระสิงห์ ทิศตะวันออกติดถนนท่าหลวง ทิศตะวันตกติดถนนภักดีณรงค์ วัดพระสิงห์นั้น เป็นวัดที่มีความสำคัญทาประวัติศาสตร์ในจังหวัดเชียงราย ไม่ปรากฏประวัติการสร้าง
ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวว่า ท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย อนุชาของพญากือนา อัญเชิญพระสีหลปฏิมาจากกำแพงเพชรมายังเมืองเชียงใหม่ เมื่อพญากือนาปรารภจะสร้างซุ้มจระนำขึ้นใหม่ให้เป็นที่ประดิษฐานของพระสีหลปฏิมา ท้าวมหาพรหมจึงอัญเชิญพระสีหลปฏิมาไปยังเมืองเชียงราย เพื่อนำมาเป็นแบบสร้างอีกองค์หนึ่งด้วยทองสำริดให้เหมือนองค์ต้นแบบ ทำการหล่อและสวดเบิกที่เกาะดอนแท่น เมืองเชียงแสน แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารหลวงเมืองเชียงราย คือวัดพระสิงห์ในปัจจุบัน เมื่อพญากือนาสวรรคต พญาแสนเมืองมา โอรสได้ขึ้นครองราชย์สืบแทน ท้าวมหาพรหมไม่พอใจจึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังพญาแสนเมืองมานำกองทัพสู้รบจับท้าวมหาพรหมได้ แล้วอัญเชิญพระสีหลปฏิมามายังเมืองเชียงใหม่
วัดพระสิงห์คงมีสถานะเป็นวัดสำคัญมาตลอดทุกสมัย ช่วงสงครามขับไล่พม่าออกจากล้านนาทำให้เมืองเชียงรายกลายเป็นเมืองร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2347 จนเมื่อฟื้นฟูเมืองเชียงราย พ.ศ. 2386 จึงมีการบูรณะวัดสำคัญต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามจำนวนไพร่พลและสถานะทางสังคมยุคนั้น
พ.ศ. 2433 มีการสร้างวิหารวัดพระสิงห์ขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่าสร้างบนฐานเดิมของวิหารในยุคล้านนา ซึ่งมีรูปแบบและสถาปัตยกรรมคล้ายกับวิหารของวัดงามเมือง (หลังเก่า) และวัดพระแก้ว สันนิษฐานว่าช่างผู้ออกแบบและก่อสร้างคือช่างคณะเดียวกัน จดหมายเหตุเมืองเชียงราย ยุคฟื้นฟูเมืองเชียงรายกล่าวว่า "เดือน 8 ขึ้น 5 ฅ่ำ วัน 7 สกราช 1252 ปีกดยี ปกวิหารวัดพระแก้ว รอดเดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปกวิหารวัดพระสิงห์"
พ.ศ. 2436 พระธัมมมปัญญา (ป๊อก ธมฺมปญฺโญ ภายหลังเป็นพระครูเมธังกรญาณ) เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์พร้อมเจ้านายทั้งหลาย ได้สร้างพระพุทธรูป 2 องค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า 1 องค์ พระมหากัจจายนะ 1 องค์ พระอรหันต์ 8 องค์ ประดิษฐานในพระอุโบสถ ถึง พ.ศ. 2437 พระประธานวัดพระสิงห์มีเหงื่อออก จดหมายเหตุเมืองเชียงราย ยุคฟื้นฟูเมืองเชียงรายกล่าวว่า "สกราช 1255 ตัว ปีกล่าไส้ ธุเจ้าธัมมปัญญา เจ้าอธิการวัดพระสิงห์เปนเคล้า พายนอกเจ้านายสัทธาทั้งหลายได้สร้างก่อพระเจ้าสององค์ พระปัจเจก 1 พระมหากจาย 1 องค์ อรหันตา 8 องค์ เถิงสกราช 1256 ตัว ปีกาบสง้า วัน 5 ฅ่ำ แล้วบรมวล เดือน 8 ลง 2 ค่ำ เหื่อพระเจ้าหลวงวัดพระสิงห์ออก"
พ.ศ. 2438 เดือนมีนาคม ขึ้น 1 ค่ำ ได้ของที่ฝังอยู่ในดินเหนือวิหารวัดพระสิงห์ออก มีพระธาตุ 11 ดวง พระพุทธรูปทอง 4 องค์ พระพุทธรูปเงิน 1 องค์ พระพุทธรูปทอง 2 องค์ แก้ว 3 ลูก ขึ้น 3 ค่ำ ได้ธาตุ 58 ดวง พระพุทธรูปเงิน 1 องค์ พระพุทธรูปแก้ว 2 องค์ โกศเงิน 1 โกศทอง 1 โกศแก้ว 1 โกศนาก 1 แก้ว 4 ลูก ถึงเดือนเมษายน ขึ้น 15 ค่ำ ได้ฉลองวิหาร จดหมายเหตุเมืองเชียงราย ยุคฟื้นฟูเมืองเชียงรายกล่าวว่า "เดือน 6 ขึ้น 1 ฅ่ำ ได้ของฝังอยู่ในดินเหนือวิหารวัดพระสิงห์ออก คือ ธาตุ 11 ดวง พระเจ้าฅำ 4 องค์ พระเจ้าเงิน 1 องค์ พระเจ้าฅำ 2 องค์ แก้ว 3 ลูก เดือนเดียวนั้น ขึ้น 3 ค่ำซ้ำได้ธาตุ 58 ดวง พระเจ้าเงิน 1 องค์ พระเจ้าแก้ว 2 องค์ โขดเงิน 1 โขดฅำ 1 โขดแก้ว โขดนาค 1 แก้ว 4 ลูก เถิงเดือน 7 เพง ค็จหลองวิหารกินทานเหล้นม่วน"
พ.ศ. 2449 พระธัมมปัญญา ยังอนุญาตให้หมอบริกส์ (Dr. William Albert Briggs) มิชชันนารี ให้ใช้พื้นที่วิหารวัดพระสิงห์เป็นสถานที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้ บันทึกว่า "ในเมืองเชียงรายทุกวันอาทิตย์ตอนบ่าย มีพวกชาวคริสต์ที่เผยแพร่ศาสนาในตลาด บางครั้งมีผู้ชายหลายคนจากหมู่บ้านต่างๆ ที่เข้าในเมืองเพื่อเสียภาษี หรือถูกเกณฑ์มาทำงานตามโครงการของรัฐบาล พวกผู้ชายเขานอนวัดทุกคืน และพวกชาวคริสต์เข้าในวัดเพื่อการสอนหรือเผยแพร่คำสอนของพระเยซูคริสต์ ท่านเจ้าอาวาสของวัดประธาน (วัดพระสิงห์) เข้าไปฟังคำสอนของชาวคริสต์บ่อยๆ และชวนเขาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในวัดของท่าน ตามคำชวนของท่านเจ้าอาวาส ชาวคริสต์ก็ขึงจอหนังตรงหน้าพระประธานลงทองเลย (สำริดปิดทอง) และชาวคริสต์ใช้เครื่องฉายภาพนิ่งเพื่อแสดงชีวิตของพระเยซูทุกคืน
และสถานที่ท่องเที่ยวสุดท้าย ก่อนจะนำส่งท่านลูกค้าที่โรงแรมหรือพี่พัก หรือตามแต่ท่านให้ส่งในเขตตัวเมืองเชียงราย คือ วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว เดิมชื่อวัดป่าญะ หรือวัดป่าเยียะ (เขียนเป็นภาษาบาลีว่า ญรุกขวนาราม) เนื่องจากภายในวัดเดิมมีไม้เยียะขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นไม้ไผ่พันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่งคล้ายไม้ไผ่สีสุก ไม่มีหนาม เนื้อแข็งและเหนียว นิยมนำไปทำหน้าไม้หรือคันธนู เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดเชียงราย ไม่ปรากฏประวัติการสร้างมีดังนี้
ชินกาลมาลีปกรณ์และรัตนพิมพวงศ์ กล่าวว่า ท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย อนุชาของพญากือนา อัญเชิญพระสีหลปฏิมากับพระรตนปฏิมาจากกำแพงเพชรมายังเมืองเชียงราย เมื่อพญากือนาสวรรคต พญาแสนเมืองมา โอรสได้ขึ้นครองราชย์สืบแทน ท้าวมหาพรหมไม่พอใจจึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังพญาแสนเมืองมานำกองทัพสู้รบจับท้าวมหาพรหมได้ แล้วอัญเชิญพระสีหลปฏิมามายังเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระรตนปฏิมา เนื่องจากท้าวมหาพรหมได้นำปูนขาวคลุกด้วยน้ำผึ้งน้ำอ้อยและทรายละเอียดพอกไว้ ลงรักปิดทอง แล้วก่อพระเจดีย์ทำด้วยศิลาแลงที่วัดป่าเยียะ บรรจุพระรตนปฏิมาที่พอกแล้วไว้ในเรือนเจดีย์ จึงไม่ปรากฏแก่คนทั้งหลาย
พ.ศ. 1977 เจดีย์วัดป่าเยียะถล่มลงมาเอง (มีเพียงพระบรมราชาธิบายและคาถาตำนานพระแก้วมรกต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่านั้นที่กล่าวว่าเจดีย์ต้องอสนีบาต) จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง นำไปไว้ในวิหารของวัดป่าเยียะ ต่อมาปูนบริเวณพระกรรณเกิดกระเทาะออกเห็นเป็นเนื้อมรกต (มีเพียงพระบรมราชาธิบายและคาถาตำนานพระแก้วมรกต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่านั้นที่กล่าวว่าปูนกระเทาะบริเวณพระนาสิก) จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ จึงทราบว่าเป็นพระรตนปฏิมา ท้าวเจ็ด เจ้าเมืองเชียงรายได้กราบทูลให้พญาสามฝั่งแกนทรงทราบ โปรดให้อัญเชิญพระรตนปฏิมาจากวัดป่าเยียะ เมืองเชียงรายไปยังเมืองเชียงใหม่โดยกระบวนช้าง แต่เมื่อถึงแจ้สัก (ชยสัก) ช้างทรงพระรตนปฏิมาไม่ยอมไปทางเชียงใหม่ จึงเสี่ยงทายจับฉลากได้ชื่อเมืองนครลำปาง จึงอัญเชิญพระรตนปฏิมาไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จากเหตุการณ์ค้นพบพระรตนปฏิมา (พระแก้วมรกต) ทำให้วัดป่าเยียะได้รับการขนานนามใหม่ว่า วัดพระแก้ว
จากนั้นพนักงานขับรถจะนำท่านกลับสู่ที่พัก โรงแรม หรือ จุดส่งในเขตตัวเมืองเชียงรายตามแต่ท่านที่จะมีกิจกรรมส่วนตัวต่อไป
กำหนดเวลารอบโปรแกรมทัวร์เวลาเริ่มทัวร์ 8:00 / 9:00 / 10:00 / 11:00 / 12:00 / 13:00 / 14:00
*โปรแกรมทัวร์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม*