ถนน หน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
4 Hours
Haft Day
20 persons
Bangkok
Deedeebooking ขอเสนอโปรแกรมท่องเที่ยวใหม่ รูปแบบใหม่ เป็นโปรแกรมทัวร์ท่องเที่ยวครึ่งวัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม ฮอตฮิตมากๆ ของชาวยุโรปและชาวเอเชีย เช่นนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี ญี่ปุ่น จีน ในปัจจุบันนี้ โปรแกรมทัวร์นี้ท่องเที่ยวได้ทุกวัย ครบรสทุกการท่องเที่ยว ได้เดินเที่ยวชม นั่งเรือ ถ่ายภาพ ทำคอนเทนใหม่ๆ ที่อิงประวัติศาสตร์ มีประกันการท่องเที่ยวคุ้มครองตลอดโปรแกรมทัวร์ ทำให้ท่านท่องเที่ยวด้วยความอุ่นใจ
มัคคุเทศก์จะเจอกับท่านที่อุโมงค์ทางเข้าหน้าพระราชวัง
จะพาท่านเข้าเที่ยวชมวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระแก้ว วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้ กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุดมีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิธาตุพิมาน หอพระราชพงศานุสรณ์ หอพระราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง และหอพระคันธารราษฎร์
นาม คำว่า "พระศรีรัตนศาสดาราม" เป็นการสมาสสนธิระหว่างคำ คือ "ศรีรัตนศาสดา" กับ "อาราม" โดยคำว่าศรีรัตนศาสดา หมายถึงฉายาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนามที่ใช้เรียกแทนพระองค์ว่าเป็นศาสดาที่เปรียบเป็นพระผู้ประเสริฐ เป็นศรีรัตน เปรียบได้กับแก้วอันประเสริฐ ซึ่งกล่าวว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเอกแห่งรัตนตรัย ซึ่งคือ แก้ว 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
คำว่า อาราม คือ วัด ดังนั้น "พระศรีรัตนศาสดาราม" หมายถึง วัดสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระอารามซึ่งประดิษฐานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทุกท่านอิ่มใจอิ่มบุญ ได้กราบพระแก้วมรกตเสร็จ มัคคุเทศก์จะพาท่านเข้าสู่พระบรมมหาราชวังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบรมมหาราชวังเป็นพระราชนิเวศน์แห่งแรกในกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ มูลเหตุแห่งการสร้างเกิดขึ้นเนื่องจาก ทรงเห็นว่ากรุงธนบุรี มีชัยภูมิไม่เหมาะสมเพราะมีลำน้ำผ่านกลางเมือง เรียกว่าเมืองอกแตก เมืองลักษณะนี้ข้าศึกสามารถรุกรานได้ง่าย สาเหตุอีกประการหนึ่งเนื่องจาก พระราชวังกรุงธนบุรี มีวัดขนาบ ๒ ด้าน คือวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายพระราชวังให้ยิ่งใหญ่เหมือนพระราชวังเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ฝากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออก ซึ่งสถานที่แห่งนี้เดิมเป็นที่อยู่ของเหล่าบรรดาชาวจีนภายใต้การดูแลของพระยาราชาเศรษฐี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายชาวจีนเหล่านี้ไปตั้งหลักแหล่งใหม่ ณ บริเวณที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิ์ ฯ) ถึงคลองวัดสามเพ็ง (วัดสัมพันธวงศ์) ปัจจุบันคือเยาวราช โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์และพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองในการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง และในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เวลา ๖ นาฬิกา ๒๔ นาที อันเป็นมงคลฤกษ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจากพระราชวังกรุงธนบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังพระบรมมหาราชวัง ทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก และเฉลิมพระราชมณเฑียร พระบรมมหาราชวังเมื่อแรกสร้างมีเนื้อที่ ๑๓๒ ไร่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นว่าเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งเป็นที่ประทับสำหรับพระมเหสี พระราชเทวี เจ้าจอมและเจ้านายฝ่ายในมีความคับแคบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเนื้อที่ด้านทิศใต้ออกไปทางถนนท้ายวัง เพิ่มขึ้นอีก ๒๐ ไร่ ๒ งาน รวมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๕๒ ไร่ ๒ งาน โดยแบ่งเขตออกเป็น ๓ ส่วน
จากนั้นมัคคุเทศก์จะพาท่าน ไป พักดื่มกาแฟ ที่คาเฟ่
พักคลายร้อนดื่มเครื่องดื่ม หลายอย่างที่คาเฟ่
จากนั้นมัคคุเทศก์จะพาท่าน นั่งรถโดยสารประจำทาง ไปยังวัดสระเกศ (ภูเขาทอง)
วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่า ๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า "วัดสระเกศ"
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างพระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามว่า "สุวรรณบรรพต" มีความสูง 77 เมตร บนยอดสุวรรณบรรพตเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราชเพราะมีคำจารึกอยู่ พระอุโบสถ
จากนั้นมัคคุเทศก์จะพาท่าน ไปยังถนนข้าวสาร
ถนนข้าวสารเป็นถนนที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมโยธาธิการได้กราบบังคมทูลให้ตัดถนนตรอกข้าวสาร เริ่มตั้งแต่ถนนหน้าวัดชนะสงคราม (ซึ่งได้นามว่าถนนชนะสงคราม) ตัดมาทางตะวันออกตามตรอกข้าวสารแล้วสร้างสะพานข้ามคลองมาบรรจบกับถนนเฟื่องนครตอนหน้าสวนหลวงตึกดิน พระราชทานนามถนนตามเดิมว่า "ถนนข้าวสาร"
ถนนข้าวสารเดิมเป็นย่านเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นตรอกที่ขายข้าวสาร เป็นแหล่งค้าขายข้าวสารที่ใหญ่ที่สุดของเขตพระนคร ซึ่งข้าวสารจำนวนมากจะถูกขนส่งมาจากฉางข้าวหลวง สะพานช้างโรงสี ริมคลองคูเมืองเดิม หรือ ปัจจุบันก็คือ คลองหลอด เลียบมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นที่ท่าเรือบางลำพู เพื่อนำข้าวมาขายให้แก่ชาวบ้านในชุมชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้นอกจากนี้ก็ยังขายถ่านหุงข้าว ของชำ โดยถัดออกไป 1 ถนน จะเป็นคลองที่เชื่อมต่อมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการค้าขายข้าวสารมากมายจึงเรียกว่าตรอกข้าวสาร (เพราะขนาดเล็ก) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นถนนข้าวสาร หลังจากนั้นก็เริ่มเกิดชุมชนขึ้น และขยับขยายต่อไป ต่อมาเริ่มมีร้านขายของมากขึ้น เช่นร้านขายของเล่น อย่างลูกข่าง ร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรือต่อมาความเป็นอยู่ของชุมชนแห่งนี้เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในช่วงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบรอบ 200 ปี ได้เข้ามาเช่าห้องพักอาศัยเพื่อเที่ยวชมเมืองหลวงของไทยในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ และเริ่มมีฝรั่งเข้ามามาถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด โดยมีทีมงานกองถ่ายมาอยู่กันจำนวนมาก ที่มาเช่าที่ เช่าเกสเฮาส์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี ก็ต้องเช่าจากบ้านที่อยู่แถวนั้นซึ่งใช้แบ่งเช่า จึงเป็นที่มาของเกสเฮาส์ เกสต์เฮ้าส์ของชาวต่างชาติเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528-2529 ระยะหลังเริ่มมีคนเข้ามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นศูนย์รวมของพวกแบ็คแพ็กเกอร์ที่มาท่องเที่ยวประเทศไทย จนเป็นที่โด่งดังในที่สุด ก่อนที่จะมาปรับเปลี่ยนรูปแบบอีกทีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมากลายเป็นย่านบันเทิงยามราตรีที่สำคัญ
หลังจากการเที่ยวชมและถ่ายรูปสถานที่ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว มัคคุเทศก์จะส่งท่านที่สี่แยกคอกวัวฝั่งถนนข้าวสาร
ก็เป็นอันเสร็จสิ้นโปรแกรมทัวร์
กำหนดเวลารอบโปรแกรมทัวร์เวลาเริ่มทัวร์ 8:30 / 9:30 / 10:30 / 11:30 / 12:30 / 13:30 / 14:30
*โปรแกรมทัวร์ขึ้นอยู่กับ เวลาและตารางเวลา อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้*